หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .…




บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .…
โดย อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

        สิทธิในการเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย ( Right of (legislative) initiative) มีการบัญญัติรับรองไว้ ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยรับรองสิทธิในการเสนอกฎหมายทั้งในระดับชาติ และในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่น และหากกล่าวโดยเฉพาะการเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายในระดับท้องถิ่นแล้ว ก็มี พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เป็นบทบัญญัติที่กาหนดกระบวนการ ขั้นตอน และเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ ในการใช้สิทธิของประชาชน แต่การรับรองสิทธิดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและมีกฎหมายมากำหนดในรายละเอียดโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับแนวคิดพื้นฐานและเชื่อมโยงกับสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านอื่น ๆ จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากแนวคิดหลักการที่เป็นสาระสำคัญหลักของ “สิทธิในการริเริ่ม” (Right of initiative) การริเริ่มเป็นสิทธิในเชิงรุก ( Active ) ซึ่งหมายความว่า ประชาชนเป็นฝ่ายริเริ่มในการใช้สิทธิในด้านต่าง ๆ แต่เมื่อมาบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมายสิทธิดังกล่าวกลับมีสภาพและคุณลักษณะที่เป็น Passive หรือ ถูกตีกรอบ ถูกทำให้เป็นภาระมีอุปสรรคต่าง ๆ ดังมีตัวอย่างต่าง ๆ ให้เห็นมากมาย

บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .… (8 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น 2 : Roadmap การจัดการขยะ

ดาวน์โหลด 59 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

อนาคตประเทศไทยและการเมืองที่พึงปรารถนา

ดาวน์โหลด 117 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ทศธรรม ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ดาวน์โหลด 100 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า