พระราชประวัติรัชกาลที่ 7

หน้าแรก | เกี่ยวกับสถาบัน

พระราชประวัติรัชกาลที่ 7

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๔๘ พระบรมชนกนาถโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นอันสมควรแก่ขัตติยบรมราชกุมารแล้ว เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษาหลังจากโสกันต์แล้วได้ทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ ที่วิทยาลัยอีตัน และต่อมาในพ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ม้าจากโรงเรียนนายร้อยเมืองวูลิช ประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จไปประจำกรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษ ณ เมืองออลเดอชอต เพื่อทรงศึกษาหน้าที่นายทหาร แต่เนื่องจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯให้เสด็จนิวัตประเทศไทย

        พศ. ๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯให้ทรงรับราชการตำแหน่งนายทหารคนสนิทของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบกและทรงเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการตามลำดับ

       พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศเป็นเวลา ๑ พรรษา

       พ.ศ. ๒๔๖๑ พระองค์ทรงขอพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์

และในระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๖๗ ได้เสด็จไปศึกษาวิชาทหารบกที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี๒๔๖๘ ทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาได้ไม่ถึงเดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเหล่าเสนาบดีพร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงอภิเษกสมรส

ทรงอภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พุทธศักราช 2461 ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางประอิน ในวโรกาสนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังสุโขทัย พระราชทานเป็นเรือนหอ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิ- วัดนวิสิษฐ์ ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวัง บางปะอิน เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑

ทรงครองราชย์

มื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2468 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็น " พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ "ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว "

ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาตินานับประการ อาทิ โปรดเกล้าฯ อุปถัมภ์บำรุงกิจการหอสมุดจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร และสร้างสะพาน ปฐมบรม ราชานุสรณ์พระนคร (สะพานพระพุทธ ยอดฟ้าฯ) เพื่อเชื่อมฝั่งพระนคร และธนบุรี และ ทรงส่งเสริมการศึกษาของ ชาติหลายประการ คือ ให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีเร่งรัดการประกาศ พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา ทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญา บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบรมวงศ์ชั้น ผู้ใหญ่และคณะเสนาบดี ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราช พระบรมราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘

พระราชทานรัฐธรรมนูญ

         เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะบุคคลที่เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นแก่ความสงบของบ้านเมืองมากกว่าสิ่งอื่นใดทรงยอมรับเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยพระองค์แรก และต่อมาได้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475

ทรงสละราชสมบัติ

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ หลังจากทรงครองราชย์ เป็นเวลา 9 ปี 3 เดือน 4 วัน ขณะประทับอยู่ที่บ้าน โนลแครนลี ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องด้วยความ คิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองบางประการ หลังจากนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษจนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484 ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นการส่วนพระองค์อย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีการใด ๆ ที่สุสานโกลเดอร์ส กรีน (Golders Green)


Share :

สถาบันพระปกเกล้า