ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

หลักสูตร ปศส.รุ่นที่ 21 ศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น


          เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2566 หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 21 (ปศส.21) ศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยแบ่งสายการศึกษาดูงานออกเป็น 3 สาย ได้แก่ เมืองโอซาก้า เมืองฟูกูโอกะ และกรุงโตเกียว

          ศึกษาดูงานสายที่ 1 ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น นำคณะโดย ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการและที่ปรึกษาหลักสูตร ฯ

          โดยวันที่ 1 มีนาคม 2566 ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ The ENTREPRENURIAL MUSEUM of CHALLENGE and INNOVATION (พิพิธภัณฑ์แห่งความท้าทายและนวัตกรรม) โดยหอการค้าและอุตสาหกรรมโอซาก้ามีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรุ่นต่อไป จึงได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผู้ประกอบการโอซาก้าขึ้นในปี 2544 (ค.ศ.2021) โดยแนะนำผู้ประกอบการที่ประสพความสำเร็จ และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ช่วงบ่าย ได้เข้าคาราวะท่านกงสุลใหญ่ ประจำนครโอซาก้า นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ ให้การต้อนรับคณะ พร้อมรับฟัง ภาพรวมเศรษฐกิจ และศักยภาพของภูมิภาคคันไซ 

          สำหรับวันที่ 2 มีนาคม 2566 คณะนักศึกษา หลักสูตร ได้เข้าศึกษาดูงาน  ณ  ศูนย์ป้องกันภัยภิบัติ เมืองเฮียวโกะ จังหวัดโกเบ โดยมีคุณมุโดอิโอ๊ะ เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติเป็น ผู้ต้อนรับและบรรยายสรุป และพาเยี่ยมชมสถานที่เตรียมการต่าง ๆ อาทิ สถานที่บัญชาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการอบรมให้ประชาชนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวญี่ปุ่นมีการวางแผน มีขั้นตอนในการรับมือการเกิดภัยพิบัติล่วงหน้า และเพื่อเตรียมการในหลายๆ ด้าน เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ การสำรองเสบียง และการเกิดภัยพิบัติในแต่ละครั้งก็จะมีการทำวิจัยสาเหตุของการเกิด รวบรวมสถิติการเกิด นอกจากนี้ศูนย์ ฯ ยังได้ให้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ โดยเข้าไปช่วยเหลือในการค้นหาผู้รอดชีวิตในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ ตรุกี เป็นต้น ด้วยเช่นกัน 

          ศึกษาดูงานสายที่ 2 ณ เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น  นำโดย รศ.ดร.ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ 

          ช่วงเช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ศึกษาการพัฒนาฟูกูโอกะ ณ Fukuoka Asian Urban Research Center เพื่อศึกษาการพัฒนาฟูกูโอกะ การบรรยายโดย Mr.Hatakeyama Naohisa, Senior Researcher and Director, Information Strategy Office บรรยายถึงระบบการปกครองของเมืองฟูกูโอกะ โดยอยู่ภายใต้จังหวัดหรือเทศบาล มีอำนาจการปกครองเทียบเคียงกับจังหวัดถูกกำหนดโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ในเมืองฟูกูโอกะมีประชาการมากเป็นอันดับ 5 และมีการเปิดธุรกิจใหม่มากที่สุด และยังสามารถเก็บภาษาท้องถิ่นได้เป็นจำนวนมาก ส่วนธุรกิจที่ทำร่วมกับประเทศไทยมากที่สุด คือ โรงงานผลิตรถยนต์ 

          วันที่ 1 มีนาคม 2566 ศึกษาดูงาน ณ  Oita OVOP International Exchange Promotion Committee  โดย Mr. Tadashi Uchida, President, International OVOP Exchange Committee ได้บรรยายความเป็นมาของ OVOP ่เริ่มต้นในปี 2503 จากเกษตรกรที่ว่างจาการทำเกษตรจึงคิดริเริ่มทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ตนเองถนัดจากชุมชนเล็กๆ เพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ โดยใช้หลัก "หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์" แล้วนำไปขายภายในชุมชน ต่อมาในปี 2522 โดย Morihiko Hiramatsu,Ph.D ผู้ว่าราชการจังหวัด Oita ประกาศนโยบาย "One Village One Product Movement" รัฐบาลท้องถิ่นได้เข้ามาช่วยเหลือหลายด้าน เช่น ด้านการเงิน สถานที่จัดจำหน่ายสินค้า จึงทำให้จึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น

          วันที่ 2 มีนาคม 2566 ณ สถานกงสุลใหญ่  ณ เมืองฟูกูโอกะ  เพื่อรับฟังการบรรยายหัวข้อเรื่อง “ศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมภูมิภาคคิวชู โดย นายโสรัจ สุขถาวร กงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ กล่าวต้อนรับคณะนักศึกษาและได้บรรยายถึงข้อมูลพื้นฐาน เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคคิวชูและประเทศไทย โดยมีประชากรจำนวนมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอุตสาหกรรมหลักๆ  คือ การผลิตยานยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารแปรรูป อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมี GDP 8.4% ส่วนความสัมพันธ์กับประเทศไทย ภาคเอกชนในเกาะคิวชูเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมในประเทศไทยและด้านการศึกษามีการทำ MOU ร่วมกัน เป็นต้น

          ศึกษาดูงานสายที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

          ช่วงเช้าวันที่ 1 มีนาคม 2566 รับฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของ ADBI ในการพัฒนาเศรษฐกิจและความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย แนะนำผลงานวิจัยและโครงการ กิจกรรมต่าง เอกสาร วีดีโอที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ ณ Asian Development Bank Institute (ADBI) ช่วงบ่าย เข้าเยี่ยมคารวะท่านเอกอัครราชทูตสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ ณ  สถานเอกอัครราชทูตกรุงโตเกียว รับฟังการบรรยายสรุป ภาพรวมของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์ไทยญี่ปุ่น 135 ปี สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปัจจุบัน ทิศทางพัฒนาการและนโยบายที่สำคัญ เช่น การเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 

          วันที่ 2 มีนาคม 2566 ศึกษาดูงานและฟังบรรยายสรุป ระบบป้องกันและแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำ ณ The Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channel (G-Cans Underground Temple) เมืองไซตามะ เป้าหมายของสิ่งก่อสร้างนี้คือ การป้องกันมหานครโตเกียวจากน้ำท่วม ความจำเป็นในการสร้างโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันอันตรายจากน้ำท่วมล้นตลิ่งแม่น้ำ ช่วงบ่าย ศึกษาดูงาน ณ Miraikan-The National Museum of Emerging Science and Innovation พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสมัยใหม่ โซนแรกพบกับลูกโลกจำลองขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยจอแสดงผลมากกว่า 10,000 จอภาพ ซึ่งแสดงภาพในแต่ละพื้นที่บนโลกจากดาวเทียมในอวกาศ โซนแห่งโลกอนาคต ซึ่งมีการแสดงหุ่นยนต์ในหลากหลายรูปแบบ เช่น หุ่นยนต์อะซิโมะ (Asimo) ที่ออกแบบและพัฒนาโดยฮอนด้า (Honda) ให้สามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายกับมนุษย์ นอกจากนี้โซนที่จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศ รวมทั้งจำลองบรรยากาศภายในสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

          ซึ่งการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทุกหน่วยงานให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้จากพื้นที่จริง และได้รับความรู้ ประสบการณ์จากพื้นที่จริง ที่จะสามารถนำไปต่อยอดขยายผลในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า